0indy

มิตรภาพ และอิสระภาพแห่งดนตรี รอคุณอยู่ที่นี่...
ระหว่างการพัฒนา พบปัญหาการใช้งาน โปรดแจ้งที่ webmaster.0indy.com
เดย์คุง : บล็อก
เพื่อน
0
โปรไฟล์
0
เพลง
0
บล็อก
0
รูปภาพ
0
วิดีโอ
0
บทความ
0

เมเจอร์สเกล (Major Scale)

เขียนเมื่อ 5 มี.ค.2553 10:31 น.

โด เร มี ฟา ซอล ลา ที โด ซึ่งก็คือ C-D-E-F-G-A-B-C ตามลำดับ

ถ้าหากเราไล่กีต้าร์ ก็จะได้แท๊บ (Tablature, อันมีรากศัพท์มาจากคำว่า Table นั่นเอง) แบบนี้

||--------------------------------------------------------------------|

||--------------------------------------------------------------------|

||--------------------------------------------------------------------|

||--------------------------------------------7(A)---9(B)---10(C)--|

||------------------7(E)---8(F)---10(G)----------------------------|

||---8(C)---10(D)---------------------------------------------------|

จากบทความก่อนหน้านี้ คือ ตัวโน๊ต และ ระยะห่างของเสียง นั้น ผมได้อธิบายไปแล้ว

เราลองมาดูกันนะครับ จะเห็นได้ว่า C - D - E - F - G - A - B - C (C ตัวหน้า กับ C ตัวหลัง ห่างกัน 1 Octave)

นี่เราได้สเกลแรกมาแบบไม่รู้เรื่องแล้วนะ สเกลนี้ คือ สเกล C major นั่นเองครับ

 

เรามาลองกำหนดกันครับ ว่าระยะห่างมันเป็นอย่างไรบ้าง

C > D เต็มเสียง

D > E เต็มเสียง

E > F ครึ่งเสียง

F > G เต็มเสียง

G > A เต็มเสียง

A > B เต็มเสียง

B > C ครึ่งเสียง

ผมขออนุญาตใช้สัญลักษณ์แทนนะครับ เพื่อความง่ายต่อการศึกษา คือ - (แทน เต็มเสียง) และ ^ (แทน ครึ่งเสียง)

เราก็จะได้รูปร่างดังนี้ครับ ........... C - D - E ^ F - G - A - B ^ C ............. แล้วให้เรายึดแบบนี้เป็นมาตราฐาน

เรามาลองเปลี่ยนเป็นใช้ D ขึ้นต้นแทนนะครับ ดังนี้

C - D - E ^ F - G - A - B ^ C ...... = ...... D - E - F# ^ G - A - B - C# ^ D

แล้วเราก็จะได้อีกสเกลหนึ่งครับ นั่นคือ สเกล D major นั่นเอง

 

ลองเปลี่ยนๆ ดูครับ ตอนนี้อาจจะไม่มีประโยชน์เท่าใด แต่อีกหน่อยมีประโยชน์แน่ครับ Cool

แพนด้า เขียนเมื่อ 16 มี.ค.2553 10:02 น.
ดีมากครับ อธิบาย เป็นขั้นตอน เข้าใจง่าย
1
Copyright (c) 2008-2009, 0indy.com. All right reserved.
Powered by MusicATM.com.